Link :
: ระบบบริการข้อมูลผู้ตรวจสอบอาคาร
: คู่มือกฎหมายควบคุมอาคารสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร
: คู่มือการปฏิบัติงาน การป้องกันและระงับอัคคีภัย
: ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยในอาคารสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร
: แนวทางการตรวจสอบอาคารสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร
: คู่มือการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
: คู่มือแนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
: กฎกระทรวงกำหนดประเภท ขนาดอาคาร มาตรฐาน_2563 (BEC Code)
: คู่มือแนวทางปฏิบัติการรื้อถอนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
: รายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2562 Thailand Alternative Energy Situation 2019
: คู่มือตรวจสอบและซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลด 2562 กรมโยธาธิการและผังเมือง
:
📢📢📢 กฎกระทรวง BEC ปี2563 ของกระทรวงพลังงานซึ่งประกาศบังคับใช้ตั้งแต่ 13 มีนาคม 2564 ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และได้ส่งให้คณะกรรมการควบคุมอาคารพิจารณาให้ความเห็นชอบนั้น
📍ณ ปัจจุบันคณะกรรมการควบคุมอาคารได้มีการประชุมพิจารณาและให้ความเห็นชอบกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวและประกาศลงในราชกิจจาเรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 24 ม.ค. 2566
รายละเอียดเพิ่มเติม
https://2e-building.dede.go.th/node/407
่งผลให้ในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร 9 ประเภทที่เข้าข่ายตามที่กฎกระทรวงกำหนดจะต้องมีเอกสารการตรวจประเมินอาคารอนุรักษ์พลังงาน ประกอบการยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
🏥🏢🏫โดยจะมีผลกับอาคารอาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป (ตามบทเฉพาะกาลของกฎกระทรวงฯ อาคารอนุรักษ์พลังงาน) และจะเริ่มบังคับใช้กับอาคารตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไปในวันที่ 13 มีนาคม 2566
การตรวจประเมินให้กระทำโดยผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม หรือผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม และได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานว่าเป็นผู้สำเร็จการฝึกอบรม ตามหลักสูตรที่กำหนดการรับรองผลการตรวจประเมิน
และเจ้าของอาคารมีหน้าที่จัดทำรายงานผลการตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ที่สามารถตรงจประเมินแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานได้ที่
🔍🔍https://2e-building.dede.go.th/bec-auditor

: ใบรับรองการตรวจสอบอาคาร แบบ ร.1 คืออะไร
เอกสารที่ออกให้โดย “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” ซึ่งตามกฎหมายควาบคุมอาคาร พรบ. , กฎกระทรวง , ข้อบัญญัติท้องถิ่น
: กฎหมายควบคุมอาคาร และมีวัตถุประสงค์อะไร
กฎหมายควบคุมอาคาร และมีวัตถุประสงค์อะไร
“เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อาคาร ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบการระบายอากาศ และมีการจัดการด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ซึ่งกฎหมายหลัก หรือกฎหมายแม่บทนี้จะประกอบไปด้วย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
– พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
– พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
– พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
– พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
– พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558
: กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียด อะไรบ้าง
– การปฏิบัติในการขออนุญาต
– ข้อกำหนดงานทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดเฉพาะท้องถิ่น โดยแต่ละท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณาดำเนินการออกข้อบัญญัติเอง
– ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ในเขตกรุงเทพมหานคร
– ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อการประกาศพระราชกฤษฎีการให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
ในท้องที่ใดก็ตาม การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้า พนักงานท้องถิ่นก่อนจะกระทำดังกล่าว
: เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือใครบ้าง
1.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
2.นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
3.นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขคเมืองพัทยา
4.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
5.ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่รัฐมนตรีประกาศ
: ประเภทของอาคารที่ต้องทำการตรวจสอบ มาตรา 32 ทวิ อาคาร 9 ประเภท มีอะไรบ้าง
กำหนดสำหรับในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ประเภทของอาคารที่ต้องทำการตรวจสอบ มาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 และ กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548
กำหนดให้เจ้าของอาคาร 9 ประเภท นี้ต้องจัดให้มีการตรวจสอบ
1.อาคารสูง
2.อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
3.อาคารชุมนุมคน
4.โรงมโหรสพ
5.โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่จำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
6.สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
7.อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วย อาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
8.อาคารโรงงานตามกฎหมายว่าด้วย โรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้นและมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
9.ป้ายหรือสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป ป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป
: กำหนดโทษ หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตรวจสอบอาคาร อย่างไร
กำหนดโทษ “ในกรณีที่เจ้าของอาคารฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตรวจสอบอาคารมีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง”
: คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบอาคาร คือ
“บุคคลที่ต้องผ่านการอมรมจากสถาบันที่ได้รับการรับรอง และผ่านการสอบเป็นผู้ตรวจสอบอาคารจากสภาวิศวกรหรือสถาปนิก แล้วขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบกับกรมโยธาธิการและผังเมือง”
ข้อมูลจาก : คู่มือการปฏิบัติ ตามกฎหมายควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย