ประเภทของอาคารที่ต้องตรวจสอบอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
อาคารที่ต้องทำการตรวจสอบสภาพอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร มีทั้งหมด 9 ประเภท ได้แก่
1. อาคารสูง (อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป)
2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป)
3. อาคารชุมนุมคน (อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป)
4. โรงมหรสพ
5. โรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
6. สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
7. อาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
8. โรงงานที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
9. ป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้าย ที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าหรือส่วนของอาคารที่มีพื้นที่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป
ตรวจสอบอาคาร โดยวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากสภาวิศวกรและได้รับ ใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร เลขที่ บ.๓๑๐๐ / ๒๕๖๑ จากสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคารกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย



ตรวจรับรองการจัดการพลังงาน
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธิการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้มี ทั้งการตรวจประเมินภายใน (Internal Audit) และการตรวจสอบและรับรอง (Certification Audit) โดยในส่วนของการตรวจสอบและรับรองนั้นระบุให้ “เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมโดยผู้ตรวจสอบและรับรอง” โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ บุคคลหรือนิติบุคคลที่อธิบดีกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานอนุญาต มีหน้าที่ดำเนินการตามที่กำหนด
กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๕ กำหนดให้มีผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับผู้ชำนาญการและระดับผู้ช่วยผู้ชำนาญการ โดยบุคคลหรือนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานไม่ว่าระดับใดจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อ ๓ ของกฎกระทรวงฯ ซึ่งหนีงในคุณสมบัติ ( ข้อ ๓(๑)ค ) กำหนดให้ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรด้านการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อมูลจาก : สำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พฤษภาคม ๒๕๕๖
การจัดการและปฏิบัติด้านพลังงานที่เหมาะสม เพียงพอที่จะนำไปสู่เป้าหมายด้านพลังงานที่กำหนดไว้ อีกทั้งนำการตรวจประเมินที่เป็นระบบมาใช้ จะช่วยปรับปรุงผลการดำเนินการด้านพลังงานขององค์กรโดยจะชี้ให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของระบบการจัดการพลังงานการตรวจประเมินมีด้วยกัน 3 ประเภท

ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน
ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า พพ. ได้ริเริ่ม พัฒนาผลักดัน กฎกระทรวงเกณฑ์การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน หรือ Building Energy Code : BEC เพื่อเป็นมาตรฐานบังคับใช้กับอาคารขนาดใหญ่ ที่มีการใช้พลังงานสูง ด้วยการกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์และวิธีการออกแบบอาคาร เพื่อให้อาคารมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 63 กฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคารและมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ ๒๕๖๓ ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว และจะมีผลบังคับใช้วันที่ 13 มี.ค.64 เป็นต้นไปสําหรับกฎกระทรวงเกณฑ์การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน นี้ ได้กําหนดให้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรือ ดัดแปลงครอบคลุมอาคาร 9 ประเภทที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม.ขึ้นไป และต้องดําเนินการออกแบบให้เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำ ซึ่งครอบคลุม ระบบเปลือกอาคาร ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน และการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งจะทยอยมีผลบังคับใช้กับอาคารขนาด 10,000 ตารางเมตรในปีแรก อาคารขนาด 5,000 ในปีที่ 2 และอาคารขนาด 2,000 ตารางเมตร ในปีที่ 3 ทั้งนี้ พพ. ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการบังคับใช้กฎกระทรวงฯ ในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีดำเนินการ ดังนี้
1.จัดตั้งศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้คําปรึกษาแนะนําและตรวจรับรองแบบโดยอนุมัติผลภายใน 28 วันทําการ
2.ตรวจประเมินแบบอาคาร โดยให้บริการตรวจประเมินแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ตั้งแต่ ปี 2552จนถึงธ.ค 2563 ทั้งสิ้น 858 อาคาร มีผลประหยัด 628.5 ล้านหน่วย คิดเป็น 53.72 ktoe/ปี
3.การมอบฉลากแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานให้แก่อาคารที่ผ่านการตรวจการประเมินและมีผลประหยัดสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 30 ขึ้นไป โดยดำเนินการมอบฉลากฯตั้งแต่ปี 2559 – 2562 รวมจำนวน 131 อาคาร
4. การฝึกอบรมผู้ตรวจประเมินค่าการอนุรักษ์พลังงาน มีผู้สำเร็จหลักสูตรจำนวนประมาณ 400 คน มีเป้าหมายจำนวน 1,000คน ในปี 2565
5.ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ เพื่อสร้างเครือข่ายภาคเอกชนและภาครัฐ รวมกว่า 32 แห่ง
6.การเยี่ยมชมอาคารที่ผ่านการตรวจประเมิน รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงานจากเจ้าของอาคาร และตรวจสอบการใช้วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่ก่อสร้างจริงกับวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่ขอรับการตรวจประเมิน จำนวน 126 แห่ง
7. การอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นปัจจุบันอบรมไปแล้วจำนวน 1,900 คน ทั่วประเทศ มีเป้าหมาย 4,000 คนภายในปี 2564
8.ฝึกอบรมโปรแกรม BEC ให้กับสถาปนิก วิศวกร และผู้ที่สนใจ รวมกว่า 3,500 คน
ดร.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า กฎกระทรวงBECดังกล่าว จะช่วยให้เจ้าของอาคารและผู้ใช้อาคารจะจ่ายค่าไฟลดลงอย่างน้อยร้อยละ 10 ส่วนประเทศไทยเราก็จะประหยัดพลังงานมากขึ้น และมีเป้าหมายว่าภายใน 20 ปีจะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้รวม 13,600 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นเงินกว่า 79,000 ล้านบาท
ข้อมูลจาก
: ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน อาคาร 8 ชั้น 1 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
เลขที่ 17 ถนนพระราม 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330



ตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ตามมาตรา ๙
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า
อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๑๒ แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบํารุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าของสถานประกอบกิจการเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดทําบันทึกผลการตรวจสอบ และรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ตามแบบท้ายประกาศนี้
กรณีนายจ้างได้ดําเนินการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยมีวิศวกรไฟฟ้าเป็นผู้บันทึกผลการตรวจสอบให้ถือว่าเป็นการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ผู้จัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองต้องเป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ หรือเป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ ให้นายจ้างแจ้งผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตรวจสอบ
ข้อมูลจาก : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ผู้ตรวจสอบระบบผลิตพลังงานควบคุม เลขทะเบียน(ตพค. ๐๐๐๒๑๙)
Link : http://eaudit.dede.go.th/inspector/main
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลังงานควบคุม
โครงสร้างกฎหมาย พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535
พระราชกฤษฎีกากำหนดพลังงานควบคุม พ.ศ. 2536
กฎกระทรวงฉบับที่ 2 ว่าด้วย
- คำขอ